ส่อง “ปี2566” มี 3 เรื่องใหญ่ ที่ศธ.ต้องขับเคลื่อน ก่อนจะสาย

เรื่องใหญ่ ที่ศธ.ต้องขับเคลื่อน 10

มีครูกว่า 6.6 แสนคน แต่เด็กไทยยังขาดโอกาส เข้าไม่ถึงการศึกษา ทำอย่างไรครูเก่งจะกระจายสู่โรงเรียนในชนบท

ข่าวการศึกษา เมื่อข้อเท็จจริงคุณภาพการศึกษไทยตกต่ำเกือบรั้งท้ายในทุกระดับ “ปี 2566” มี3 เรื่องใหญ่ที่ศธ.ต้องเร่งแก้ไขปฏิเสธไม่ได้ว่าในรอบปีที่ผ่านมา การศึกษาไทย ฝ่าวิกฤติมาได้ด้วยความยากลำบาก ทั้งเด็กไทย ครู ผู้ปกครอง เจ็บปวดกับระบบการศึกษาไทยมาไม่น้อย แต่ “ปี 2566” แล้ว มีเรื่องไหนบ้างที่ผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาของชาติ อย่างกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ควรรีบปรับปรุงแก้ไขเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของคนไทย ดร.ดิเรก พรสีมา คณบดีวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร(มรภ.พระนคร),กรรมาธิการการศึกษาพิจารร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ, อดีตประธานกรรมการคุรุสภา(ประธานบอร์ดคุรุสภา) ,นักวิชาการด้านการศึกษา เปิดมุมมองฝากถึงผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ในทุกระดับต้องเร่งดำเนินการขับเคลื่อนใน 3 เรื่องใหญ่ของการศึกษาชาติ เอาไว้อย่างน่าสนใจ ผ่าน “คมชัดลึกออนไลน์” เป็นสื่อกลาง“3 เรื่องใหญ่ที่กระทรวงศึกษาธิการต่องเร่งดำเนินการรับปี2566 มีดังนี้ 1.คุณภาพการศึกษา 2.โอกาสเข้าถึงการศึกษาของเด็กไทย3.ประสิทธิภาพการบริหาร”1.คุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษา เมื่อประเมินจากคุณภาพของคนไทย ผ่านนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ พบว่าเมื่อปี 2565 ไทยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพียง 1,500 ชิ้น ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนมีผลงานนวัตกรรมใหม่มากถึง 1.5 ล้านชิ้น เมื่อวัดการศึกษาระดับนานาชาติจาก 69 ประเทศไทยอยู่ที่ 55 และคาดว่าจะร่วงลงมาที่อันดับที่ 70 ในปี2564 ที่ยังไม่ประกาศผล”คุณภาพการศึกษา ไม่ว่าจะวัดคุณภาพการศึกษาในระดับชาติ ระดับอาเซียน หรือระดับโลก พบว่าการศึกษาไทยตกต่ำเกือบรั้งท้าย” แม้คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยที่เรียนในกลุ่มโรงเรียนสาธิต และเตรียมดุอมศึกษาจัดการศึกษาได้อย่างดีเลิศเทียบระดับนานาชาติ แต่ผลสัมฤทธิ์การศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นภาพรวมของประเทศตกต่ำมาก เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนเราอยู่อันดับ 7-8 จาก 10 ประเทศ ขณะที่ระดับอุดมศึกษาในอาเซียนอยู่ในระดับ3-4 ปัจจัยส่วนหนึ่งเพราะความเหลื่อมล้ำสูงมาก ระหว่างการศึกษาในเมืองและชนบท”2.โอกาสเข้าถึงการศึกษาของเด็กไทยปี2566 ทำอย่างไรกระทรวงศึกษาธิการ จะขยายโอกาส หรือเพิ่มโอกาสของเด็กไทย และเด็กในชนบทห่างไกล ให้มีโอกาสได้รับการศึกษากับ “ครูเก่ง” เมื่อข้อเท็จจริงครูเก่งๆมีจำนวนมากที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กลุ่มโรงเรียนสาธิต และกลุ่มโรงเรียนประจำจังหวัด แต่โรงเรียนชนบทขาดแคลนครูเก่งๆเหล่านี้

เรื่องใหญ่ ที่ศธ.ต้องขับเคลื่อน 10

กระทรวงศึกษาฯ ควรมีมาตรการ หรือ สร้างแรงจูงใจให้ครูเก่ง อยากมาทำงานในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ

ข่าวการศึกษา ไม่ใช่ใช้เกณฑ์การประเมินเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งแบบเดียวกันทั่วประเทศ เช่น ให้โอกาสครูเก่งและดี ขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารแทนเด็กฝาก อย่าลืมว่าระบบการศึกษาไทยมีครูกว่า 6.6 แสนคน ในจำนวนนี้ เฉพาะครูที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)กว่า 469,000 คน ต้องมีครูเก่งในสัดส่วนที่สูงกว่าปัจจุบันนี้ 3.ประสิทธิภาพการบริหาร ประสิทธิภาพการบริหารทุกรูปแบบที่เกี่ยวกับเด็ก เกี่ยวกับครู ผู้ปกครอง เงินงบประมาณ ฯลฯ ต้องบริหารด้วยความโปร่งใส ไม่มีการทุจริต คอรัปชั่น เช่น การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ การก่อสร้าง ฯลฯ ต้องให้มีประสิทธิภาพสูง และเป็นธรรมกับโรงเรียนในเมืองและชนบท เช่น โรงเรียนชนบทควรจะจัดซื้อกระดาษแต่ละริมได้ในราคาเดียวกับโรงเรียนในเมือง อาจจะนำระบบดิจิทัลมาใช้ มีดาต้าเบต Database หรือ ระบบฐานข้อมูล อย่างมีระบบ โดยที่มีข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกัน เชื่อมโยงกัน สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือใช้เงินน้อยแต่ได้ผลดี “ระบบการศึกษาไทยมีครูกว่า 6.6 แสนคน แต่เด็กไทยยังขาดโอกาสเข้าไม่ถึงการศึกษา ทำอย่างไรจะมีครูเก่งๆ กระจายสู่โรงเรียนในชนบท ขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทุกรูปแบบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษไทยไม่ให้ตกต่ำเกือบรั้งไทยแบบนี้ ปีใหม่ 2566 กระทรวงศึกษาธิการต้องเร่งมือขับเคลื่อนแก้ไข ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป”ดร.ดิเรก ฝากทิ้งท้าย

แนะนำข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ม.มหิดล เล็งเปิด MUx เพิ่มโอกาส“คนไทย”เข้าถึงการเรียนรู้ สมุนไพร รอบตัว