‘ตะวันตก’ พลาดอย่างแรงในความเข้าใจเรื่องการครองอำนาจของ ‘สี จิ้นผิง’ และการผงาดขึ้นมาของ ‘หลี่ เฉียง’

‘ตะวันตก’ พลาดอย่างแรงในความเข้าใจเรื่องการครองอำนาจ

การที่ หลี่ เฉียง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหมายเลข 2 ในคณะกรรมการประจำกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติก็หมายถึงการได้ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีน ที่น่าจะมีการประกาศออกมาในการประชุมเต็มคณะของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (รัฐสภา)

ของจีนช่วงเดือนพฤษภาคมปีหน้านั้น เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าจีนยังคงเดินอยู่บนเส้นทางไฮเทคที่นำโดยภาคเอกชน และไม่ใช่การหวนกลับไปสู่ลัทธิเหมาเจ๋อตง อะไรทั้งสิ้นพวกมืออาชีพขาใหญ่ในทางเป็นนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อในเรื่องเกี่ยวกับจีน ตลอดจนประดาลูกขุนพลอยพยักในสื่อมวลชนตะวันตกของพวกเขา ต่างตกอยู่ในมุมอับมองอะไรไม่ทะลุ จากการที่ หลี่ เฉียง หัวหน้าสาขานครเซี่ยงไฮ้ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้รับแต่งตั้งเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี ตำแหน่งอันดับ 2 รองจาก สี จิ้นผิงหลี่ผู้นี้ เป็นผู้ใฝ่ใจทางด้านเทคซึ่งให้ความสนับสนุนพวกผู้ประกอบการไฮเทคทั้งหลาย เขามีความเชื่อว่าอนาคตของจีนยึดโยงอยู่กับเศรษฐกิจดิจิทัล ขณะที่ สี นั้นพวกสื่อตะวันตกยืนกรานแสดงความเห็นชนิดเป็นเอกฉันท์ทีเดียวว่า ขณะนี้ได้หวนกลับไปหาลัทธิเหมาเจ๋อตง (Maoism)มันตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงเลยกับสิ่งที่พวกขาใหญ่นักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ ดูเหมือนคาดหมายกันว่าเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมา โดยที่พวกสื่อตะวันตกก็รีบเร่งช่วงชิงกันเพื่ออธิบายเรื่องที่พวกเขาบอกว่าเป็นความวิปริตนี้บลูมเบิร์ก พยายามที่จะอธิบายว่าทำไมตนเองจึงล้มเหลวมองไม่เห็นล่วงหน้าเรื่องที่ หลี่ จะผงาดขึ้นมาเช่นนี้ โดยกล่าวว่า “เมื่อช่วงก่อนหน้านี้ของปีนี้ ตอนที่ หลี่ นำเอาวิธีการแบบผ่อนคลายยุทธศาสตร์ “โควิดต้องเป็นศูนย์” อันเข้มงวดของจีนมาใช้ในระยะแรกๆ แล้วพังไม่เป็นท่า เนื่องจากเจอกับตัวกลายพันธุ์ “โอมิครอน” ซึ่งติดต่อกันได้ง่ายขึ้นมาก โอกาสที่เขาจะได้เลื่อนชั้นจึงกลายเป็นที่สงสัยไม่แน่ใจกันขึ้นมา”เรื่องความจงรักภักดีเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้ หลี่ ได้รับการแต่งตั้งนั้นเป็นสิ่งที่มองเห็นกันได้ชัดเจนอยู่แล้ว พวกผู้นำทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือชาวตะวันตก ปกติแล้วย่อมไม่แต่งตั้งพวกตัวรองๆ ลงมาของเขาจากคนที่รู้กันดีว่าเป็นคนไม่จงรักภักดีดังนั้น การอธิบายโดยใช้เรื่อง “ความจงรักภักดี” จึงไม่ได้เป็นคำอธิบายใดๆ เลย ขณะที่คำอธิบายซึ่งเข้าท่าเข้าทางกว่านั้นมีอยู่ว่า เหล่าชนชั้นนำทางการเมืองสายแองโกล-อเมริกัน อ่าน สี ด้วยความผิดพลาดอย่างมหันต์มาตั้งแต่ต้นจนจบ

‘ตะวันตก’ พลาดอย่างแรงในความเข้าใจเรื่องการครองอำนาจ

การแต่งตั้ง หลี่ จึงควรที่จะถือเป็นเสียงนาฬิกาปลุกให้ตื่นขึ้นมาได้แล้ว ความมืดบอดและความคิดอคติสืบเนื่องจากอุดมการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ทั่วไปหมดในประดาหน่วยงานและบุคลากรด้านนโยบายการต่างประเทศของฝ่ายตะวันตกนั้น

คือสาเหตุที่ทำให้เกิดการตีความผิดพลาดอย่างเรื้อรังในเรื่องเกี่ยวกับจีน ซึ่งกำลังนำไปสู่การแสดงปฏิกิริยาทางการเมืองอันต่อเนื่องติดตามมา ที่ส่อให้เห็นนัยแห่งอันตราย ตลอดจนสร้างผลพวงที่เป็นอันตรายในความเป็นจริงแล้ว การเลื่อนชั้น หลี่ ขึ้นมาเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีเช่นนี้ เป็นสิ่งที่สามารถคาดคะเนกันได้ล่วงหน้า ตลอดจนมีผู้มองเห็นและทำนายกันเอาไว้ก่อนแล้วด้วย เอเชียไทมส์เองเขียนเอาไว้เยอะทีเดียวเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม โดยนอกจากพยากรณ์ว่า สี จะเลือกใช้วิธีให้คณะกรรมการประจำของกรมการเมือง (Politburo Standing Committee) พรรค ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 คน เกษียณอายุไป 4 คน โดยในจำนวนนี้ไม่เพียงแค่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง เท่านั้น แต่ยังรวมถึง หวัง หยาง (Wang Yang) ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่ามีหวังจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอีกด้วย รวมทั้ง สี จะไม่พลาดโอกาสในการแต่งตั้งกลุ่มผู้นำใหม่ๆ ที่อ่อนวัยกว่า และมาจากเบ้าหลอมที่แตกต่างออกไปหลี่ เฉียง นั้นเป็นเลขาธิการพรรคสาขาเซี่ยงไฮ้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาแทบไม่มีผู้นำของเซี่ยงไฮ้คนไหนเลยที่จะพลาดพลั้งไม่ได้รับการเลือกเลื่อนขึ้นนั่งในคณะกรรมการประจำของกรมการเมืองพรรค สี เองก็เคยผ่านตำแหน่งนี้มาแล้วเช่นกัน กระนั้นก็ตาม การที่ หลี่ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหมายเลข 2 คราวนี้ บังเกิดขึ้นมาอย่างชนิดสร้างความประหลาดใจให้แก่พวกนักวิเคราะห์ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ นี่ควรเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีการตีความผิดพลาดกันมากมายมโหฬารขนาดไหน ไม่ว่าสำหรับกรณีของ สี โดยเฉพาะเฉพาะจง และการบริหารปกครองของจีนโดยองค์รวมหลี่ สำเร็จการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ และได้รับปริญญาโท MBA จากมหาวิทยาลัยโปลิเทคนิคฮ่องกง (Hong Kong Polytechnic University) มหาวิทยาลัยด้านบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีระดับท็อปแห่งหนึ่งของเอเชีย ซึ่งได้ทุนสนับสนุนจาก ลี กาชิง (Li Ka-shing) นักธุรกิจใหญ่ระดับเจ้าพ่อของฮ่องกง ว่าที่นายกรัฐมนตรีจีนคนต่อไปผู้นี้ เป็นผู้ให้ความสนับสนุนเรื่องการสร้างผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีเรื่อยมา โดยมองว่านี่เป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นข้อหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาของจีนได้เปรียบคนอื่นๆในบรรดาอะไรๆ อย่างอื่นๆ มากมายนั้น หลี่ คือ หนึ่งในในคณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งให้การสนับสนุน แจ็ค หม่า อย่างมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนั้น เขายังเป็นผู้ที่นำเอา เทสลา ของ อีลอน มัสก์ มายังเซี่ยงไฮ้ การที่เขาได้เลื่อนขึ้นเป็นหมายเลข 2 จึงควรเป็นการยืนยันว่า คณะผู้นำจีนสนับสนุนอุตสาหกรรมไฮเทคที่นำโดยภาคเอกชน

แนะนำข่าวทันโลกข่าวต่างประเทศ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ในฐานะเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์